พรหมจรรย์ ในภาษาอินเดียแปลว่า การกระทำตนให้เสมือนเป็นพรหม ในศาสนาของอินเดียไม่ได้หมายถึงการครองตัวเป็นโสด การถือสภาพพรหมจารี หรือการงดเว้นจากกิจกรรมทางเพศ แต่คือการควบคุมจิตใจ ไม่ให้มีอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์รักโลภ โกรธ หลง
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้เข้าถึงพรหมญาณ ส่วนแนวคิดของศาสนาฮินดู พรหมจรรย์ เป็นหนึ่งในสี่ขั้นของชีวิต ซึ่งพรหมจรรย์ถูกจัดอยู่ในอาศรมสี่ หมายถึง ให้ผู้ที่ยังไม่มีอายุถึง 25 ปี ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและประพฤติตนอยู่กรอบ ให้ครองตัวเป็นโสด
และด้วยความที่สังคมไทยอิทธิพลแนวคิดนี้มาจากการรับศาสนาที่ถูกเข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย ดังนั้นจึงทำให้สังคมไทยมีการตีกรอบ สร้างบรรทัดฐานค่านิยมทางสังคมไว้ว่าผู้หญิงคนใดที่ไม่รักนวลสงวนตัว ไม่รักษาพรหมจรรย์คือผู้หญิงไม่ดี ประพฤติตนไม่เหมาะสม ไม่เป็นกุลสตรีที่ดีงาม
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้นเราไม่สามารถเอาสิ่งเหล่านี้มาตัดสินผู้หญิงคนหนึ่งได้ เพราะกิจกรรมทางเพศหรือการมีเพศสัมพันธ์นั้นคือเรื่องธรรมชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่มนุษย์ทั้งหลายไม่อาจฝืนหนีธรรมชาติได้ แต่เราสามารถรับผิดชอบกับสิ่งเหล่านั้นได้ การมองผู้หญิง โดยวัดคุณค่าจากพรหมจรรย์ ไม่ต่างจากการตีตราผู้หญิง และเช่นเดียวกันผู้ชายเองยังมีเพศสัมพันธ์ได้โดยที่ไม่ถูกตีตรา
หรือถูกสังคมตัดสินว่าดีหรือไม่ดี แล้วทำไมผู้หญิงถึงสมควรจะต้องถูกตีกรอบและตัดสินใจไปด้วย นั่นไม่ใช่ความเท่าเทียมหรือยุติธรรมต่อผู้หญิงเลย การมีเพศสัมพันธ์คือเรื่องธรรมชาติ คือความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ตราบใดที่ไม่ได้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรมในกรณีที่ไปเป็นชู้สามีหรือภรรยาคนอื่น ก็ย่อมมีสิทธิ์ทำได้ และไม่ควรจะต้องโดนถูกตัดสินจากสังคมด้วย
ความดีงามเป็นเรื่องเกี่ยวกับการประพฤติก็จริง แต่การประพฤติก็มีหลายหลายกรณี เราไม่ควรตัดสินใครเพียงแค่ความประพฤติในเรื่องเพศ ในเมื่อความดีควรมาจากจิตใจ นิสัยใจคอ ไม่ใช่พรหมจรรย์ที่เป็นความประพฤติ พฤติกรรมทางเพศ ทางด้านร่างกาย ผู้หญิงทุกคนมีคุณค่าในตนเอง พรหมจรรย์ไม่ควรเป็นเครื่องหมายที่มาตราหน้าหรือลดคุณค่าใคร
เพื่อให้เป็นคนที่สมบูรณ์แบบตามที่สังคมต้องการ และที่สำคัญเป็นที่สุดคือผู้หญิงทุกคนมีสิทธิในร่างกายของตนเอง มีสติสัมปชัญญะ ความรับผิดชอบ และความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเป็นของตนเอง ดังนั้นการที่ผู้หญิงจะทำอะไรกับร่างกายตนเองก็ย่อมเป็นสิทธิของผู้หญิง ตราบใดที่อยู่บนความถูกต้องและไม่ไปสร้างความเดือดร้อนให้ใครก็ย่อมทำได้
สังคมไม่ควรกำหนด สร้างบรรทัดฐาน หรือตีกรอบคุณค่าของผู้หญิงคนใดด้วยคำว่าพรหมจรรย์ แต่สังคมควรยอมรับได้แล้วว่ายุคสมัยได้เปลี่ยนไปแล้ว การมีเพศสัมพันธ์คือเรื่องธรรมชาติ ในเมื่อผู้ชายก็ไม่ได้มีเรื่องพรหมจรรย์มากำหนด หรือลดคุณค่าในตัวผู้ชาย แล้วเช่นนั้นทำไมถึงเลือกปฏิบัติและเลือกกระทำต่อแค่ผู้หญิง แบบนี้ก็จะทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องเพศได้
คุณค่าของคน คุณค่าของผู้หญิงไม่ควรมีใครหรืออะไรมาเป็นตัวกำหนด คำว่าพรหมจรรย์ควรเป็นแค่ชื่อแทนเยื่อบางๆในร่างกายของผู้หญิงเท่านั้น แต่ไม่ควรเอามาเป็นตัวตัดสินหรือวัดคุณค่าว่าใครเป็นผู้หญิงดีหรือไม่ดี
สนับสนุนโดย สมัคร Gclub